ข้อมูลพื้นฐาน | กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอยฮาง

ความรู้เรื่องยาเสพติ

ยาเสพติดคืออะไร
                ยาเสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ๆ ที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีการกิน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใด ๆ ก็ตาม เป็นช่วงระยะเวลา หรือนานติดกันจนทำให้ร่างกายทรุดโทรมและตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว 
ประเภทของสิ่งเสพติด
 แบ่งตามลักษณะการผลิต
       - สิ่งเสพติดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตเช่น ฝิ่น กัญชา ฯลฯ
       - สิ่งเสพติดสังเคราะห์ได้แก่ สิ่งเสพติดที่ผลิตด้วยกรรมวิธี     
            ทางเคมี เช่น เฮโรอีน มอร์ฟีน ฯลฯ
 แบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
       - ประเภทออกฤทธิ์กดประสาทจะมีฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง     
          ประสาทชา ง่วงซึม ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน
       - ประเภทออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการ       
          ตื่นเต้น ตลอดเวลา ไม่รู้สึกง่วงนอน แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาผู้
          เสพจะหมด ได้แก่ แอมเฟตามีน หรือยาม้า กระท่อม
      -ประเภทออกฤทธิ์หลอนประสาทจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการ   
          ประสาทหลอนเห็นภาพ ลวงตาหูแว่ว อารมณ์แปรปรวน     
          ได้แก่ แอลเอสดี หรือ  เหล้าแห้ง เห็ดขี้ควาย
       - ประเภทออกฤทธิ์กดประสาท และหลอนประสาทด้วย        
         ได้แก่  กัญชา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดยาเสพติด
V  จากการถูกชักชวน  
V  จากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากรู้ อยากสัมผัส
V  จากการถูกหลอกลวง
V  เหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็น โรคปวดศีรษะ เป็นหืด เป็นโรคประสาทได้รับ ความทรมานทางกายมากผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวมานานแต่
ก็ไม่หาย จึงหันเข้าหายาเสพติด จนติดยาในที่สุด
V  จากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่ง
V  จากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อยู่อาศัยแออัด เป็นแหล่งสลัม หรือเป็นแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติดภาวะทางเศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ
 
เยาวชนกับยาเสพติด
                เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิตผู้ค้าและ ผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนให้มีชีวิตที่ดีงาม ห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าว ตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่แต่จะรับข่าวสารข้อมูล ได้มากขึ้นถ้า เยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย
   
 ติดกีฬาก็มีความสุขได้

                การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยง - เบนความสนใจของเยาวชนให้  ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือ การเล่นกีฬานั้น จะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา  ซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุข ผู้ที่ออกกำลังกาย อยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้  โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด 
การป้องกันการติดยาเสพติด
Iป้องกันตนเอไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลอง เสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
Iป้องกันครอบครัวควรสอดส่องดูและเด็กบุคคลในครอบครัว  หรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยาเสพติด หากมีผู้เสพยาเสพ ติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
Iป้องกันเพื่อนบ้านโดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้ เพื่อนบ้าน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติด ยาเสพติดจงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
Iป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ  เมื่อทราบว่าบ้านใด ตำบลใดมียาเสพติดแพร่ระบาด ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ
 ยาเสพติดป้องกันได้
1.  ป้องกันตนเองทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพ  
             ติดได้
          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับ
            ยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่
2.  ป้องกันครอบครัวทำได้โดย..
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
              สมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกใน
              ครอบครัวติดยาเสพติด
3.  ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที