ข้อมูลพื้นฐาน | การจัดการองค์ความรู้ KM หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แหล่งความรู้

ความรู้เกี่ยวกับองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

        การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันมีสาเหตุมาจากการพัฒนา เศรษฐกิจ ตั้งแต่ช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เป็นตัวเร่งสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการสะสมของปริมาณก๊าซเรือน กระจก โลกร้อนเกิดจากิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยกาชเรือนกระจกขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อเพลิงส าหรับการเดินทาง การขนส่ง เชื้อเพลิงส าหรับอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงไฟฟ้าส าหรับอาคารบ้านเรือน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ปริมาณน้ าจืดลดลง ผลผลิตทางการเกษตร ตกต่ า โรคระบาดในคนและพืช ระดับน้ าทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ 

        สำหรับประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายและต้องรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงบ่อยครั้ง ความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ หรือแรงกดดันจากประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่มีศักยภาพ เทคโนโลยี และการจัดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่ทันสมัย ประเทศไทยได้ก าหนดนโยบาย/แผน ในการพัฒนา ประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน าไปใช้เป็นกรอบนโยบายในการแปลงไปสู่การ ปฏิบัติเพื่อน าไปสู่สังคมคาร์บอนต่ า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริม และสนับสนุนการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย จ าเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ การท างานให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาดังกล่าว โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่เน้นการเป็นองค์กร รับรองโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด ไปสู่การเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการลดก๊าซ เรือนกระจก และผลักดันการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา โดยเน้นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับ หน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันผลักดันเป้าหมายเชิงนโยบายในการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนา สู่สังคมคาร์บอนต่ าให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม

ความเป็นมาขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 

                     โดยที่ปัจจุบันปัญหาสภาวการณ์โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การปรับตัวต่อผลกระทบและการลดก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นเรื่องจำเป็นของประเทศที่จะต้องมีการพัฒนาโครงการที่จะนำไปสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถ และศักยภาพในการแข่งขันของภาคเอกชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินโครงการที่มีส่วนช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

                       คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 เห็นชอบให้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการดังกล่าว มีความเป็นเอกภาพและคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

                      บัดนี้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 31 ก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 และได้มีการจัดตั้ง “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “อบก.” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “TGO” ขึ้นภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้ง ติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

                     บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตามกฎหมาย ก าหนดให้องค์การมีวัตถุประสงค์ของการด าเนินการเกี่ยวกับพัฒนากลไกและระบบในการจัดการการลดก๊าซ เรือนกระจก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาโครงการและตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก การขึ้นทะเบียน โครงการ การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการติดตามประเมินผลโครงการ การเป็นศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ด าเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจกและการลดก๊าซเรือนกระจกรวมทั้ง การประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ กฎหมายก าหนดให้องค์การมีหน้าที่ เกี่ยวกับการประสานความร่วมมือและรวบรวมข้อมูลการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการ องค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การด าเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยมีรายละเอียดภารกิจตามมาตรา 7 คือ 1) พัฒนาและส่งเสริมโครงการและตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก 2) ด าเนินการเกี่ยวกับการให้ค ารับรองโครงการหรือการขึ้นทะเบียนโครงการ 3) ด าเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง 4) ด าเนินการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกส าหรับโครงการภาคสมัครใจ หรือผู้ประเมินภายนอกส าหรับการขอเครื่องหมายรับรอง 5) เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ด าเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก 6) สนับสนุนการประเมินผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบที่เกิดขึ้น 7) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้ค าแนะน าแก่หน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก 8) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก 9) ส่งเสริมและสนับสนุนการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการจั ดท าแผนยุทธศาสตร์ องค์การบริ หารจั ดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561-2565 มีความสอดคล้ องและเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาประเทศ ประเด็นการปฏิรูปประเทศไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 นโยบายประเทศไทย 4.0 และแผน ยุทธศาสตร์ กระทรวงทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ในแต่ละยุทธศาสตร์ได้ก าหนดประเด็นการพัฒนา ประกอบไปด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ กิจกรรม/แผนงาน/โครงการ ตัวชี้วัด และ ค่า เป้าหมาย