ข้อมูลพื้นฐาน | แผนงานด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับภาษี

ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการชำระภาษีต่างๆ

ขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการชำระภาษีต่างๆ

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
 
ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีที่จัดเก็บจาก
๑. โรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้นๆ
๒.สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ
โรงเรือนหมายถึง ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือนเอกชน แฟลต คอนโดมิเนียม หอพัก สนามมวย สนามม้า คลังสินค้า ฯลฯ
สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆหมายถึง แพ ถังเก็บน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆหมายถึง ที่ดินปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ผู้รับประเมิน อันหมายถึง เจ้าของทรัพย์สิน
อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้รับประเมินจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๑๒.๕ ของค่ารายปี
ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
-ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี ภ.ร.ด.๒ ภายในเดือน มกราคม
–กุมภาพันธ์ ของทุกปี (ขอแบบพิมพ์ ภ.ร.ด.๒ได้ที่กองคลัง เทศบาลตำบลดอยฮาง)
-ผู้ประเมินจะต้องไปชำระภาษีภายใน ๓๐วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมิน ภ.ร.ด.๘
การไม่ชำระภายในกำหนดเวลา
 กรณีผู้รับการประเมินไม่มาชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
                ๑.ถ้าค้างชำระไม่เกิน ๑ เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ๒.๕ของภาษีที่ค้าง
                ๒.ถ้าค้างชำระไม่เกิน ๒ เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๕ ของภาษีที่ค้าง
                ๓.ถ้าค้างชำระเกิน ๒ เดือน แต่ไม่เกิน ๓ เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๗.๕ ของภาษีที่ค้าง
                ๔.ถ้าค้างชำระเกิน ๓ เดือน แต่ไม่เกิน ๔ เดือน จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๑๐ ของภาษีที่ค้าง
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดหลีกเลี่ยงการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินมีความผิด ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๔๖,๔๗ และมาตรา ๔๘
 
ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่จัดเก็บ “ ป้าย”อันหมายถึง ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
                ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบ ภ.ป.๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม –สิ้นเดือนมีนาคม ของทุกปี (ขอแบบพิมพ์ ภ.ป.๑ ได้ที่กองคลัง เทศบาลตำบลดอยฮาง ) เจ้าของป้ายต้องชำระภาษีภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งประเมิน
อัตราค่าภาษีป้าย
ประเภทที่๑ ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา ๓ บาท ต่อ ๕๐๐ ตร.ซม.
ประเภทที่๒ ป้ายที่มีอักษรไทยปนต่างประเทศหรือปนภาพหรือเครื่องหมายอื่น ๆ อัตรา๒๐บาท ต่อ ๕๐๐ ตร.ซม.
ประเภทที่๓ ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย     อัตรา ๔๐ บาท ต่อ ๕๐๐ ตร.ซม.
เงินเพิ่ม การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภ.ป.๑) หากไม่ยื่นภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ ๑๐ ของยอดเงินภาษีป้ายที่ต้องชำระทั้งหมด และเมื่อได้รับใบแจ้งการประเมินจากพนัก
งานประเมินแล้วต้องชำระภายใน๑๕วันพ้นกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ๒
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก “ที่ดิน”ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
                -ให้เจ้าของที่ดินต้องยื่นแบบ ภ.บ.ท.๕ ที่กองคลัง เทศบาลตำบลดอยฮาง ตั้งแต่เดือน มกราคม ของทุกปี ที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินทุก ๆ ๔ ปี เช่น ปี พ.ศ.๒๕๕๗,ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้น และภายใน ๓๐ วัน หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจแจ้งประเมินย้อนหลังได้ ไม่เกิน ๑๐ ปี
                -กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลง ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบฯ ภายใน ๓๐วัน นับจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนที่ดินที่เปลี่ยนแปลง
                -เจ้าของที่ดินต้องชำระภาษีภายใน วันที่ ๑ มกราคม ถึง สิ้นเดือน เมษายน ของทุกปี
 
เงินเพิ่ม
๑.ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ ๑๐ ของค่าภาษี
๒.ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ ๒ ต่อเดือน
บทกำหนดโทษ
๑. ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. ผู้ใดจงใจไม่มา หรือไม่ยอมชี้เขต หรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือนหรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตต่าง ๆ
ที่ต้องชำระมีดังนี้
      -ค่าใบอนุญาตประกอบกากรค้าและอันตรายต่อสุขภาพ
      - ค่าใบอนุญาตสะสมอาหารและน้ำแข็ง
      - ค่าใบอนุญาตรับจ้างแต่งผมและใช้สถานที่แต่งผม
     -ค่าใบอนุญาตตั้งตลาดเอกชน
    -ค่าใบอนุญาตตั้งแผงลอย