ข้อมูลพื้นฐาน | กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอยฮาง

ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก
ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้
1.       ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
2.       เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
3.       ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
4.       ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
เชื้อที่เป็นสาเหต
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
·         ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
·         สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
·         สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
·         อ่านรายละเอียด
อาการของโรค
อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่
1.       ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
·         ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
·         เบื่ออาหาร คลื่นไส้
·         ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
·         ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
·         ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
·         เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
·         ไอแห้งๆ ตาแดง
·         ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
·         อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
2.       สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
·         อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
·         อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะ ซึมลง หมดสติ
·         ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
·         โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
·         ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
·         ห้าวันหลังจากมีอาการ
·         ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน