ข้อมูลพื้นฐาน | การจัดการองค์ความรู้ KM หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แหล่งความรู้
แนะนำวิธีป้องกันและรับมือจากแผ่นดินไหว
วิธีรับมือแผ่นดินไหว ก่อนที่ภัยจะมาถึงตัว
แม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันการเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่เราสามารถเตรียมพร้อมและรับมือแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้น หากเกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างน้อยจะช่วยบรรเทาความเสียหาย และป้องกันชีวิตที่อาจถึงแก่อันตราย
ซึ่งการรับมือแผ่นดินไหว สำหรับประชาชนประกอบด้วย ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ก่อนที่ภัยจะมาถึงตัว สามารถทำได้ดังนี้
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
– การก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร ให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการป้องกันภัยที่ดีที่
สุด หากพบว่ามีการชำรุดเสียหาย ก็ให้รีบซ่อมแซมทันที
-เครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์หนักๆ ให้ผูกยึดติดกับผนังให้แน่น
-ควรจดจำตำแหน่งของวาว์ลแก้ส วาว์ลน้ำ และสะพานไฟ ให้ได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้ทันรีบปิดได้ทัน
-ควรศึกษาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่นถังดับเพลิง ถุงทราย
-กำหนดจุดนัดพบนอกสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพ กรณีพลัดหลง
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
-หากเกิดแผ่นดินไหว ให้ใช้สติ อย่าตกใจ ให้หมอบใต้พื้นโต๊ะ หรือใกล้กับกำแพงด้านในของบ้าน โดยใช้แขนป้องกันศีรษะไว้
-ให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปใกล้กำแพงของบ้านที่มีเฟอร์นิเจอร์ เครื่องแก้ว หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่
-หากอยู่ในที่โล่งหรือขณะขับรถ ให้รีบหยุดรถทันที และให้อยู่ให้ห่างจากเสาไฟฟ้า ใต้สะพาน และป้ายโฆษณา
-หากอยู่ในอาคารสูง ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดแผ่นดินไหวเด็ดขาด ควรตั้งสติ และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว รีบหนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
-ขณะเกิดเหตุอย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ เพราะอาจมีการแก๊สรั่วในพื้นที่
-หากอยู่ใกล้กับชายฝั่งให้อพยพไปยังที่สูง เหนือระดับน้ำทะเล 30 เมตร หรือเท่ากับเข้าไปในฝั่งประมาณ 3 กิโลเมตร เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
หลังเกิดแผ่นดินไหว
-ตรวจสอบตัวเองและคนใกล้เคียงว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือไม่
-สวมใส่รองเท้าหุ้มส้น เพราะอาจมีเศษแก้ว เศษเหล็กทิ่มแทงได้
-รีบตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ เช่น ท่อแก๊ส ท่อน้ำ และสายไฟ
-จากนั้นรีบอพยพออกไปจากอาาคารที่เสียหายทันที
-รวมพลในที่นัดหมาย ทำการตรวจนับสมาชิก
-เปิดรับข่าวสาร และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด