ข่าวประชาสัมพันธ์
รวมทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ COVID-19
รวมทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ COVID-19 อาการเบื้องต้น การตรวจ วิธีป้องกัน
โควิด -19 :
1.ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร
- ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
- ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าไวรัสโควิด-19 อยู่บนพื้นผิวได้นานเพียงใด ไวรัสอาจอยู่รอดได้ในไม่กี่ชั่วโมง โดยน้ำยาฆ่าเชื้อสามารถฆ่าเชื้อไวรัสไม่ให้สามารถแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี
3. ประชาชนทั่วไปควรป้องกันตนเองอย่างไร เพื่อไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้มีอาการป่วย รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณตา จมูก และปาก โดยไม่ได้ล้างมือ ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือน้ำยาแอลกอฮอล์ล้างมือ 70% หากมีไข้ ไอ หายใจลำบาก ให้ไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินทาง
4. อาการของผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 มีอาการอย่างไร ?
- อาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต
5. ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เสียเงินเท่าไหร่
- ขณะนี้ภาครัฐได้ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคฉุกเฉิน ทุกโรงพยาบาลต้องรับผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยงทั้งหมด โดยหากตรวจพบเลือดเป็นผลบวก คือติดไวรัสโควิด-19 จะได้รับค่ารักษาฟรีทั้งหมด ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
6. เชื้อสามารถแพร่กระจายในบริเวณสระว่ายน้ำได้หรือไม่
- ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากการว่ายน้ำในสระหรือแหล่งน้ำอื่น แต่ควรหลีกเลี่ยงสระน้ำที่มีผู้คนแออัด
7. เดินทางไปประเทศเสี่ยงอย่าง เกาหลีใต้ อิหร่าน อิตาลี หลังจากกลับมาจะโดนกักตัว 14 วันหรือไม่
- กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเสี่ยง เมื่อเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้งดการออกไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น และให้วัดอุณหภูมิกายทุกวัน จนกว่าจะครบ 14 วัน นับจากเดินทางถึงประเทศไทย ระหว่างการสังเกตอาการ หากพบว่ามีไข้ ไอ ให้พบแพทย์โดยทันที
8. ประชาชนสามารถไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สถานที่ใดบ้าง
- 1.คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- 2. คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
- 3. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 4.รพ.ราชวิถี
- 5. สถาบันบำราศนราดูร
- 6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 7. รพ.บำรุงราษฎร์
- 8. คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 9. รพ.มหาราชนครราชสีมา
- 10. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- 11. รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 12. ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโคล ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
- 13. รพ.ลำปาง
- 14. รพ.สวรรค์ประชารักษ์
- 15. บริษัท ไบโอ โมเลกุลาร์ แลบบอราทอรีส์ (ประเทศไทย)
- 16.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
- 17.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
- 18. สำนักป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง
- 19. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี
- 20. รพ.นครปฐม
9. ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปหรือไม่
- ทุกคนมีสิทธิจะติดโรคได้เท่ากัน ในทุกอายุ เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ ทุกคนจึงยังไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ไม่ว่าจะร่างกายแข็งแรง จะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ แต่ความรุนแรงของโรคอาจแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดี หรือในอายุน้อย ความรุนแรงของโรคก็จะน้อยกว่าผู้ที่มีอายุมากหรือมีโรคประจำตัวร่วมด้วย
10.ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ทราบผลภายใน 10 นาที ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลี ใช้งานได้จริงหรือไม่
- ชุดตรวจไวรัสโควิด-19 ถือเป็นเครื่องมือแพทย์ที่จะต้องขอขึ้นทะเบียนกับ อย.ก่อน และขณะนี้ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนทุกยี่ห้อ ซึ่งประชาชนไม่ควรซื้อมาตรวจเอง เพราะการตรวจวินิจฉัยต้องมีการประเมินอาการอื่นร่วมด้วย จึงมีโอกาสที่จะเกิดผลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริงได้
11.การประกาศสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 แบ่งเป็นกี่ระยะ และหมายถึงอะไร
- ระยะที่ 1 พบผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ระยะที่ 2 มีการติดเชื้อในประเทศ ในวงจำกัด และคนภายในประเทศติดเชื้อจากผู้ที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ
ระยะที่ 3 มีการแพร่ระบาดในประเทศ ซึ่งคนภายในประเทศติดเชื้อจากคนภายในประเทศกันเอง และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
12.หากติดเชื้อไวรัส COVID-19 จนรักษาหายแล้ว สามารถกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่
- โดยหลักการทางไวรัสวิทยาแล้ว ในโคโรนาไวรัส การเป็นแล้วควรจะมีภูมิต้านทานที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นใหม่ได้ แต่ต้องมีการศึกษาในระยะต่อไปว่าตัวไวรัส จะมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเหมือนเช่นในกรณีไข้หวัดใหญ่ที่สามารถเป็นแล้วเป็นอีกได้ เนื่องจากสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปี แต่สำหรับ COVID-19 ขณะนี้ยังไม่เห็นพฤติกรรมของไวรัสนี้ เป็นแบบไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใด
13.ถ้ามีการเดินสวนกับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 จะสามารถติดโรคได้หรือไม่
- การเดินสวนกันไปมาไม่สามารถติดโรคได้ เพราะโรคนี้ติดทางฝอยละออง ถ้าไม่มีการไอจาม ออกมา โอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือว่าน้อยมาก นอกจากนี้พบว่าฝอยละอองจากน้ำลายสามารถพุ่งถึงกันได้หากอยู่ในรัศมีภายใน 1 เมตร จึงได้มีการกำหนดระยะห่างระยะที่ปลอดภัยคืออย่างน้อย 2 เมตร ในช่วงที่มีการระบาดของโรค
14.เชื้อไวรัสโควิด-19 จะสามารถติดต่อกัน ผ่านระบบท่อแอร์ที่ใช้ร่วมกันในสำนักงานได้หรือไม่
- เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้มีการแพร่กระจายทางอากาศ แต่มีการติดต่อกันทางการสัมผัส ดังนั้นการติดต่อกันผ่านทางท่อแอร์จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อาจติดเชื้อจากคนที่อยู่ในบริเวณสำนักงานเดียวกันได้
- พยายามยืนรอในจุดที่มีผู้คนไม่แออัดมากนัก มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันทุกครั้งที่ใช้บริการ พกแอลกฮอล์หรือเจลล้างมือที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% เพื่อทำความสะอาดมือที่ใช้จับหรือโหนราวรถเมล์ รถไฟฟ้า MRT BTS ทุกครั้งหลังใช้บริการ
16.ประเทศไทยมีการประกาศให้ประเทศใดบ้าง เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายจากไวรัสโควิด-19
- ประเทศจีน (รวมฮ่องกง , มาเก๊า) ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศอิตาลี และประเทศอิหร่าน
17. เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถเข้าทางบาดแผลในร่างกายได้หรือไม่ ?
- จากการตรวจสอบ ยังไม่พบหลักฐานว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อเชื้อทางบาดแผลได้แต่อย่างใด
18.ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีโอกาสหายป่วยสูงหรือไม่ ?
- ผู้ป่วยทั่วไปมีโอกาสหายจากโรคได้เอง สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่หากพบว่ามีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที
19.การใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้า และมีการซักด้วยผงซักฟอกตามปกติ จะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
- การซักผ้าด้วยผงซักฟอกและนำไปตากแดด เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว
20.ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ?
- ไม่ได้ เพราะเป็นเชื้อคนละตัวกัน
21.ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นแล้ว จะเสียชีวิตทุกคนหรือไม่ ?
- ไม่ทุกคน พบอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 2-3 % เท่านั้น แต่พบว่าในกลุ่มผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวที่มีอายุมากกว่า 80 ปี สูงถึง 14–20 %
22. ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การตรวจหาไวรัสโควิด-19 ฟรี ต้องมีลักษณะอย่างไร ??
- 1. มีไข้ 37.5 °C ขึ้นไป พร้อมมีอาการ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ
- 2. มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ อาทิ
- เดินทางมาจากเขตโรคติดต่อ / พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
- ประกอบอาชีพที่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตโรคติดต่อ / พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ / ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ
23. ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร สามารถรักษาโรคไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่
- ฟ้าทะลายโจร เป็นยาสมุนไพรที่กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้ใช้รักษาหวัด และให้กินทันที ส่วนไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มโคโรนาไวรัส ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดใหญ่ และยังไม่เคยมีการนำฟ้าทะลายโจรมาทดลองใช้รักษาโควิด-19 แต่อย่างใด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รัฐบาลไทย